วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่8

สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย


ที่มา
สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้รับอนุญาตเป็นทางราชการให้ก่อตั้งได้เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2497 ในระยะแรกได้รับความอนุเคราะห์จากท่านเจ้าคุณญาณวโรดม และ ม.จ.ชัชชวลิต เกษมสันต์ ต่อมาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับไว้ในพระราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2519 มีที่ทำการอยู่ที่ถนนวิภาวดีรังสิต ซึ่งเป็นอาคารเช่ามีกำหนด 30 ปี ปัจจุบันได้ย้ายสำนักงานมาอยู่ ณ อาคารเลขที่ 1346 ถ.อาคารสงเคราะห์ 5 คลองจั่น บางกะปิ กทม. 10240 เป็นอาคารขนาด 4 ชั้น มีพื้นที่ 99 ตารางวา ภายในอาคารมีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 400 ตรม. ต่อมาในปี 2547 สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ได้จัดซื้อบ้านพร้อมที่ดิน ขนาด 2 ชั้น มีพื้นที่ 87 ตารางวา ซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย
การดำเนินงานของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ โดยคณะกรรมการ 25 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของสมาชิกสมาคมห้องสมุดฯ ทั่วประเทศ มีวาระคราวละ 2 ปี มีการประชุมคณะกรรมการทุกเดือน เพื่อกำหนดกิจกรรมของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ โดยนายกสมาคมฯ หรืออุปนายก เป็นประธานการประชุมทุกครั้ง นอกจากนี้ได้จัดตั้งชมรมต่าง ๆ เพื่อ สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างห้องสมุด และจัดให้มีการเยี่ยมชมห้องสมุดต่าง ๆ โดยหมุนเวียนสถานที่พบปะกัน หาลู่ทางในการยืมระหว่างห้องสมุด หาลู่ทางในการจัดกิจกรรมพิเศษ ตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและช่วยกันแก้ปัญหา ประกอบด้วยชมรมต่างๆ
พันธกิจของสมาคม
สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ได้ทำหน้าที่เพื่อส่งเสริมความสามัคคีและเพื่อสงเคราะห์ซึ่งกันและกันในระหว่างสมาชิก ส่งเสริมการศึกษาและเผยแพร่วิทยาการ ส่งเสริมสถาบันห้องสมุดทั่วประเทศเพื่อให้เจริญวัฒนาถาวรยิ่งขึ้น การแลกเปลี่ยนความรู้ กับสมาคมห้องสมุดอื่น ๆ ทั้งในและนอกประเทศ รักษาผลประโยชน์ของบรรณารักษ์และส่งเสริมฐานะของบรรณารักษ์เป็นที่มั่นคงเป็นแหล่งกลาง สำหรับรับการสนับสนุนจากบุคคลหรือองค์การใดๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ส่วนใหญ่ของสมาคมฯ ให้ความคิดเห็นในการจัดห้องสมุดแก่บุคคลหรือนิติบุคคล หรือองค์การใด ๆ ซึ่งประสงค์จะดำเนินการจัดตั้งห้องสมุด รวมทั้งรายได้จากการจำหน่ายวัสดุ ครุภัณฑ์ห้องสมุด
โครงการสำคัญ ๆ ที่สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ได้ดำเนินการ
1. โครงการสำรวจความสนใจในการอ่านของไทยมุสลิมใน 4 จังหวัดภาคใต้ ที่มาของโครงการเกิดขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จเยี่ยมพสกนิกรภาคใต้ โดยเฉพาะ 4 จังหวัด คือ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล ปรากฎว่าราษฎรส่วนใหญ่ไม่เข้าใจภาษาไทย และไม่สามารถทำการติดต่อได้เท่าที่ควร และในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2502 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานพระราชดำรัส ณ คุรุสัมมนาคาร จังหวัดยะลา มีใจความว่า "การศึกษาที่มีสำคัญมาก ให้พยายามจัดให้ดี ให้พลเมมืองสามารถพูดภาษาไทยได้ แม้จะพูดได้ไม่มากนัก เพียงแต่พอรู้เรื่องก็ยังดี เพราะเท่าที่ผ่านมาคราวนี้มีผู้ไม่รู้ภาษาไทย ต้องใช้ล่ามแปล ควรพูดให้เข้าใจกันได้ เพื่อสะดวกในการติดต่อซึ่งกันและกัน" สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ รับสนองพระราชดำริ จึงได้ทำโครงการเพื่อส่งเสริมการศึกษาภาษาไทย เมื่อปีพ.ศ. 2504 โดยมูลนิธิเอเชีย ผู้สนับสนุนด้านการเงิน
2. โครงการปรับปรงุห้องสมุดโรงเรียน เป็นโครงการ่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อปรับปรุงห้องสมุดโรงเรียนมัธยมในส่วนกลางให้ได้มาตรฐาน โรงเรียนที่จะปรับปรุงคือ โรงเรียนที่มีห้องสมุดอยู่แล้ว มีบรรณารักษ์ที่มีวุฒิขั้นปริญญา และทำหน้าที่บรรณารักษ์อย่างเดียว ทางโรงเรียนพร้อมที่จะให้ความร่วมมือทางด้านการเงินเป็นบางส่วน โดยมีเงินอุดหนุนตามแนวที่จะดำเนินการปรับปรุง
3. โครงการอบรมนักเรียนช่วยงานห้องสมุดเนื่องจากห้องสมุดโรงเรียนโดยทั่วไปจะมีบรรณารักษ์ทำงานเพียงคนเดียว ทำให้การทำงาน ไม่ได้ผลเท่าที่ควร ดังนั้นสมาคมฯ จึงจัดโครงการอบรมนักเรียนช่วยงานห้องสมุด เพ่อให้นักเรียนได้รับความรู้เพิ่มขึ้นในเรื่องการใช้หนังสือและวัสดุต่าง ๆ และให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับบรรณารักษ์ เพื่อให้บริการแก่ครู อาจารย์ และเพื่อนนักเรียนด้วยกัน และที่สำคัญก็เพื่อให้นักเรียนได้สำรวจความสนใจของตนเองเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับศึกษาวิชาชีพต่อไปในอนาคต
4. โครงการจัดนิทรรศการหนังสือสำหรับเด็กและผู้เยาว์โครงการนี้จัดขึ้นเพื่อชักจูง สนับสนุนเด็กให้รู้จักหนังสือ สนใจหนังสือและใช้ให้เป็น ประโยชน์ ส่งเสริมให้รักการอ่าน และเพื่อเป็นการช่วยครูและผู้ปกครองได้รู้จักหนังสือ สมาคมฯ จึงได้จัดทำรายชื่อหนังสือพร้อมบรรณนิทัศน์ บทคัดย่อ เผยแพร่ให้ครู นักเรียน และผู้สนใจ โดยจะหมุนเวียนไปยังจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากองค์การยูเนสโกและมูลนิธิเอเชีย
5. โครงการจัดงานสัปดาห์ห้องสมุดโครงการนี้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2519 โดยขอให้ทุกห้องสมุดจัดงานขึ้นพร้อมกันเป็นประ จำทุกปี เพื่อแนะนำให้ผู้ใช้และคนทั่วไป รู้จักห้องสมุด ตลอดจนวิธีใช้ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาตนเองและบ้านเมือง วัตถุประสงค์ของโครงการฯ เพื่อเชิญชวนให้ประชาชนสนใจการอ่านหนังสือและการใช้ห้องสมุด และเพื่อให้โอกาสนักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ และประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมในกิจการของสมาคมฯ ประการสุดท้ายก็เพื่อให้ผู้บริหารและผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานห้องสมุดพิจารณาปรับปรุงห้องสมุดให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพตามาตรฐานสากล โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์อุปถัมภ์ได้ทรงพระเมตตาประทาน "คำขวัญห้องสมุด" ให้กับสมาคมฯ ดังนี้

ที่มา http://www.tla.or.th/home.htm

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่7

ห้องสมุดรถไฟเยาวชน

เป็นขบวนรถที่ดัดแปลงเพื่อให้เป็น "ห้องสมุดรถไฟเยาวชน"เพื่อเป็นแหล่งความรู้สำหรับเด็กด้อยโอกาสมีห้องนันทนาการ และคอมพิวเตอร์เพื่อใช้เป็นสื่อการสอนมีสวนหย่อมรอบๆเพื่อให้ความร่มรื่น และหย่อนใจ
โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "ครูตำรวจข้างถนน"เพื่อช่วยเหลือเด็กผู้ด้อยโอกาสให้กลับสู่ครอบครัวที่อบอุ่นและปกป้องเด็กจากการชักจุงไปในทางที่เสื่อมเสีย
ไม่เฉพาะแต่เด็กด้อยโอกาสเท่านั้นนะครูตำรวจข้างถนน และห้องสมุดรถไฟเยาวชน ยินดีต้อนรับเด็กๆ เยาวชน และประชาชนทั่วไปด้วย

http://www.everykid.com/worldnews/libratrain/index.html

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่5

ห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก



Library of Congress ตั้งอยู่ที่ Washington DC, USA มีหนังสือถึง 32,124,001 เล่ม

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ค้นหาหนังสือ__OPAC2.doc

ค้นหาหนังสือ__OPAC2.doc

http://www.mediafire.com/?gcowdg8wmdzkuce

ข่าวประจำสัปดาห์ที่6

ห้องสมุดประชาชน

เช่นเดียวกับห้องสมุดแห่งชาติ ห้องสมุดประชาชนดำเนินการโดยรัฐ อาจจะเป็นรัฐบาลกลาง รัฐบาลท้องถิ่นหรือเทศบาล แล้วแต่ระบบการปกครองของแต่ละประเทศ ตามความหมายเดิม ห้องสมุดประชาชนเป็นห้องสมุดที่ประชาชนต้องการให้มีในชุมชน หรือเมืองที่เขาอาศัยอยู่ ประชาชนจะสนับสนุนโดยยินยอมให้รัฐบาลจ่ายเงินรายได้จากภาษีต่างๆ ในการจัดตั้ง และดำเนินการห้องสมุดประเภทนี้เป็นบริการของรัฐ จึงมิได้เรียกค่าตอบแทน เช่น ค่าบำรุงห้องสมุด หรือค่าเช่าหนังสือ ทั้งนี้เพราะถือว่าประชาชนได้บำรุงแล้ว โดยการเสียภาษีรายได้ให้แก่ประเทศ หน้าที่ของห้องสมุดประชาชนก็คือ ให้บริการหนังสือเพื่อการศึกษาตลอดชีวิต บริการข่าวสารความเคลื่อนไหวทางวิชาการและเหตุการณ์ต่างๆ ที่ประชาชนควรทราบ ส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและ การรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ให้ข่าวสารข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานและการพัฒนาด้านต่างๆ ของแต่ละคนและสังคม