วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่8

สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย


ที่มา
สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้รับอนุญาตเป็นทางราชการให้ก่อตั้งได้เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2497 ในระยะแรกได้รับความอนุเคราะห์จากท่านเจ้าคุณญาณวโรดม และ ม.จ.ชัชชวลิต เกษมสันต์ ต่อมาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับไว้ในพระราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2519 มีที่ทำการอยู่ที่ถนนวิภาวดีรังสิต ซึ่งเป็นอาคารเช่ามีกำหนด 30 ปี ปัจจุบันได้ย้ายสำนักงานมาอยู่ ณ อาคารเลขที่ 1346 ถ.อาคารสงเคราะห์ 5 คลองจั่น บางกะปิ กทม. 10240 เป็นอาคารขนาด 4 ชั้น มีพื้นที่ 99 ตารางวา ภายในอาคารมีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 400 ตรม. ต่อมาในปี 2547 สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ได้จัดซื้อบ้านพร้อมที่ดิน ขนาด 2 ชั้น มีพื้นที่ 87 ตารางวา ซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย
การดำเนินงานของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ โดยคณะกรรมการ 25 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของสมาชิกสมาคมห้องสมุดฯ ทั่วประเทศ มีวาระคราวละ 2 ปี มีการประชุมคณะกรรมการทุกเดือน เพื่อกำหนดกิจกรรมของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ โดยนายกสมาคมฯ หรืออุปนายก เป็นประธานการประชุมทุกครั้ง นอกจากนี้ได้จัดตั้งชมรมต่าง ๆ เพื่อ สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างห้องสมุด และจัดให้มีการเยี่ยมชมห้องสมุดต่าง ๆ โดยหมุนเวียนสถานที่พบปะกัน หาลู่ทางในการยืมระหว่างห้องสมุด หาลู่ทางในการจัดกิจกรรมพิเศษ ตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและช่วยกันแก้ปัญหา ประกอบด้วยชมรมต่างๆ
พันธกิจของสมาคม
สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ได้ทำหน้าที่เพื่อส่งเสริมความสามัคคีและเพื่อสงเคราะห์ซึ่งกันและกันในระหว่างสมาชิก ส่งเสริมการศึกษาและเผยแพร่วิทยาการ ส่งเสริมสถาบันห้องสมุดทั่วประเทศเพื่อให้เจริญวัฒนาถาวรยิ่งขึ้น การแลกเปลี่ยนความรู้ กับสมาคมห้องสมุดอื่น ๆ ทั้งในและนอกประเทศ รักษาผลประโยชน์ของบรรณารักษ์และส่งเสริมฐานะของบรรณารักษ์เป็นที่มั่นคงเป็นแหล่งกลาง สำหรับรับการสนับสนุนจากบุคคลหรือองค์การใดๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ส่วนใหญ่ของสมาคมฯ ให้ความคิดเห็นในการจัดห้องสมุดแก่บุคคลหรือนิติบุคคล หรือองค์การใด ๆ ซึ่งประสงค์จะดำเนินการจัดตั้งห้องสมุด รวมทั้งรายได้จากการจำหน่ายวัสดุ ครุภัณฑ์ห้องสมุด
โครงการสำคัญ ๆ ที่สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ได้ดำเนินการ
1. โครงการสำรวจความสนใจในการอ่านของไทยมุสลิมใน 4 จังหวัดภาคใต้ ที่มาของโครงการเกิดขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จเยี่ยมพสกนิกรภาคใต้ โดยเฉพาะ 4 จังหวัด คือ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล ปรากฎว่าราษฎรส่วนใหญ่ไม่เข้าใจภาษาไทย และไม่สามารถทำการติดต่อได้เท่าที่ควร และในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2502 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานพระราชดำรัส ณ คุรุสัมมนาคาร จังหวัดยะลา มีใจความว่า "การศึกษาที่มีสำคัญมาก ให้พยายามจัดให้ดี ให้พลเมมืองสามารถพูดภาษาไทยได้ แม้จะพูดได้ไม่มากนัก เพียงแต่พอรู้เรื่องก็ยังดี เพราะเท่าที่ผ่านมาคราวนี้มีผู้ไม่รู้ภาษาไทย ต้องใช้ล่ามแปล ควรพูดให้เข้าใจกันได้ เพื่อสะดวกในการติดต่อซึ่งกันและกัน" สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ รับสนองพระราชดำริ จึงได้ทำโครงการเพื่อส่งเสริมการศึกษาภาษาไทย เมื่อปีพ.ศ. 2504 โดยมูลนิธิเอเชีย ผู้สนับสนุนด้านการเงิน
2. โครงการปรับปรงุห้องสมุดโรงเรียน เป็นโครงการ่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อปรับปรุงห้องสมุดโรงเรียนมัธยมในส่วนกลางให้ได้มาตรฐาน โรงเรียนที่จะปรับปรุงคือ โรงเรียนที่มีห้องสมุดอยู่แล้ว มีบรรณารักษ์ที่มีวุฒิขั้นปริญญา และทำหน้าที่บรรณารักษ์อย่างเดียว ทางโรงเรียนพร้อมที่จะให้ความร่วมมือทางด้านการเงินเป็นบางส่วน โดยมีเงินอุดหนุนตามแนวที่จะดำเนินการปรับปรุง
3. โครงการอบรมนักเรียนช่วยงานห้องสมุดเนื่องจากห้องสมุดโรงเรียนโดยทั่วไปจะมีบรรณารักษ์ทำงานเพียงคนเดียว ทำให้การทำงาน ไม่ได้ผลเท่าที่ควร ดังนั้นสมาคมฯ จึงจัดโครงการอบรมนักเรียนช่วยงานห้องสมุด เพ่อให้นักเรียนได้รับความรู้เพิ่มขึ้นในเรื่องการใช้หนังสือและวัสดุต่าง ๆ และให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับบรรณารักษ์ เพื่อให้บริการแก่ครู อาจารย์ และเพื่อนนักเรียนด้วยกัน และที่สำคัญก็เพื่อให้นักเรียนได้สำรวจความสนใจของตนเองเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับศึกษาวิชาชีพต่อไปในอนาคต
4. โครงการจัดนิทรรศการหนังสือสำหรับเด็กและผู้เยาว์โครงการนี้จัดขึ้นเพื่อชักจูง สนับสนุนเด็กให้รู้จักหนังสือ สนใจหนังสือและใช้ให้เป็น ประโยชน์ ส่งเสริมให้รักการอ่าน และเพื่อเป็นการช่วยครูและผู้ปกครองได้รู้จักหนังสือ สมาคมฯ จึงได้จัดทำรายชื่อหนังสือพร้อมบรรณนิทัศน์ บทคัดย่อ เผยแพร่ให้ครู นักเรียน และผู้สนใจ โดยจะหมุนเวียนไปยังจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากองค์การยูเนสโกและมูลนิธิเอเชีย
5. โครงการจัดงานสัปดาห์ห้องสมุดโครงการนี้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2519 โดยขอให้ทุกห้องสมุดจัดงานขึ้นพร้อมกันเป็นประ จำทุกปี เพื่อแนะนำให้ผู้ใช้และคนทั่วไป รู้จักห้องสมุด ตลอดจนวิธีใช้ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาตนเองและบ้านเมือง วัตถุประสงค์ของโครงการฯ เพื่อเชิญชวนให้ประชาชนสนใจการอ่านหนังสือและการใช้ห้องสมุด และเพื่อให้โอกาสนักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ และประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมในกิจการของสมาคมฯ ประการสุดท้ายก็เพื่อให้ผู้บริหารและผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานห้องสมุดพิจารณาปรับปรุงห้องสมุดให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพตามาตรฐานสากล โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์อุปถัมภ์ได้ทรงพระเมตตาประทาน "คำขวัญห้องสมุด" ให้กับสมาคมฯ ดังนี้

ที่มา http://www.tla.or.th/home.htm

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่7

ห้องสมุดรถไฟเยาวชน

เป็นขบวนรถที่ดัดแปลงเพื่อให้เป็น "ห้องสมุดรถไฟเยาวชน"เพื่อเป็นแหล่งความรู้สำหรับเด็กด้อยโอกาสมีห้องนันทนาการ และคอมพิวเตอร์เพื่อใช้เป็นสื่อการสอนมีสวนหย่อมรอบๆเพื่อให้ความร่มรื่น และหย่อนใจ
โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "ครูตำรวจข้างถนน"เพื่อช่วยเหลือเด็กผู้ด้อยโอกาสให้กลับสู่ครอบครัวที่อบอุ่นและปกป้องเด็กจากการชักจุงไปในทางที่เสื่อมเสีย
ไม่เฉพาะแต่เด็กด้อยโอกาสเท่านั้นนะครูตำรวจข้างถนน และห้องสมุดรถไฟเยาวชน ยินดีต้อนรับเด็กๆ เยาวชน และประชาชนทั่วไปด้วย

http://www.everykid.com/worldnews/libratrain/index.html

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่5

ห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก



Library of Congress ตั้งอยู่ที่ Washington DC, USA มีหนังสือถึง 32,124,001 เล่ม

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ค้นหาหนังสือ__OPAC2.doc

ค้นหาหนังสือ__OPAC2.doc

http://www.mediafire.com/?gcowdg8wmdzkuce

ข่าวประจำสัปดาห์ที่6

ห้องสมุดประชาชน

เช่นเดียวกับห้องสมุดแห่งชาติ ห้องสมุดประชาชนดำเนินการโดยรัฐ อาจจะเป็นรัฐบาลกลาง รัฐบาลท้องถิ่นหรือเทศบาล แล้วแต่ระบบการปกครองของแต่ละประเทศ ตามความหมายเดิม ห้องสมุดประชาชนเป็นห้องสมุดที่ประชาชนต้องการให้มีในชุมชน หรือเมืองที่เขาอาศัยอยู่ ประชาชนจะสนับสนุนโดยยินยอมให้รัฐบาลจ่ายเงินรายได้จากภาษีต่างๆ ในการจัดตั้ง และดำเนินการห้องสมุดประเภทนี้เป็นบริการของรัฐ จึงมิได้เรียกค่าตอบแทน เช่น ค่าบำรุงห้องสมุด หรือค่าเช่าหนังสือ ทั้งนี้เพราะถือว่าประชาชนได้บำรุงแล้ว โดยการเสียภาษีรายได้ให้แก่ประเทศ หน้าที่ของห้องสมุดประชาชนก็คือ ให้บริการหนังสือเพื่อการศึกษาตลอดชีวิต บริการข่าวสารความเคลื่อนไหวทางวิชาการและเหตุการณ์ต่างๆ ที่ประชาชนควรทราบ ส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและ การรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ให้ข่าวสารข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานและการพัฒนาด้านต่างๆ ของแต่ละคนและสังคม

ข่าวประจำสัปดาห์ที่5

ห้องสมุดแห่งชาติ


หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี


นับเป็นห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ดำเนินการโดยรัฐบาลทำหน้าที่หลักคือรวบรวมหนังสือสิ่งพิมพ์และสื่อความรู้ทุกอย่างที่ผลิตขึ้นในประเทศ และทุกอย่างที่เกี่ยวกับประเทศ ไม่ว่าจะจัดพิมพ์ในประเทศใด ภาษาใด ทั้งนี้เป็นการอนุรักษ์สื่อความรู้ซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของชาติ มิให้สูญไป และให้มีไว้ใช้ในอนาคต นอกจากรวบรวมสิ่งพิมพ์ในประเทศแล้ว ก็มีหน้าที่รวบรวมหนังสือที่มีคุณค่า ซึ่งพิมพ์ในประเทศอื่นไว้เพื่อการค้นคว้าอ้างอิง ตลอดจนทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมบรรณานุกรมต่างๆ และจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติออกเผยแพร่ให้ทราบทั่วกันว่ามีหนังสืออะไรบ้างที่ผลิตขึ้นในประเทศ ห้องสมุดแห่งชาติจึงเป็นแหล่งให้บริการทางความรู้แก่คนทั้งประเทศช่วยเหลือการค้นคว้า วิจัย ตอบคำถาม และให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับหนังสือ
http://guru.sanook.com/search/knowledge_search.php?q=%CB%E9%CD%A7%CA%C1%D8%B4%E1%CB%E8%A7%AA%D2%B5%D4&select=1

วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่4

ประวัติห้องสมุดในประเทศไทย


พัฒนาการของห้องสมุดในประเทศไทย
พัฒนาการของห้องสมุดในประเทศไทยมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยโดยมีการเก็บคัมภีร์พระไตรปิฎกซึ่งจารึกลงในใบลานไว้ที่ “หอไตรหรือหอพระไตรปิฎก” ในวัดวาอารามต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการจัดเก็บหลักศิลาจารึกและวรรณกรรมทางศาสนาโดยเฉพาะอีกด้วย
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีการสร้าง “หอพระมณเฑียรธรรม” ขึ้นกลางสระน้ำตรงมณฑป วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อให้เป็นที่เก็บคัมภีร์พระไตรปิฎกจึงนับได้ว่าหอพระมณเทียรธรรมทำหน้าที่เป็นหอสมุดแห่งแรกของ กรุงรัตนโกสินทร์
ในสมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ได้โปรดให้มีการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามหรือวัดโพธิ์ เพื่อให้เป็น แหล่งศึกษาหาความรู้ของประชาชนทั่วไปวัดพระเชตุพนจึ่งเป็นห้องสมุดสำหรับประชาชนแห่งแรกของประเทศนอกจากนี้ยังถือว่าเป็น มหาวิทยาลัยประชาชน หรือ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ด้วย
ส่วนห้องสมุดสมัยใหม่เริ่มต้นที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ 4 ทรงบริจาคทรัพย์ร่วมกันสร้าง “หอสมุดวชิรญาณ” ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีลักษณะ การดำเนินงาน คือ สมาชิกของห้องสมุดต้องเสียค่าบำรุง มีกรรมการเป็นผู้บริหารและดำเนินงาน รัชกาลที่ 5 ยังโปรดให้สร้าง “หอพระพุทธศาสนสังคหะ” เพื่อใช้เก็บหนังสือและพระไตรปิฎก
ต่อมารัชกาลที่ 5 ได้ทรงโปรดเกล้าให้รวมหนังสือต่างๆจาก หอสมุดวชิรญาณหอมณเฑียรธรรม และหอสมุดศาสนสังคหะ แล้ว เปิดเป็นหอสมุดใหม่ชื่อว่า “หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร”เพื่อโปรดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้ใช้เป็นสถานศึกษาหาความรู้ ซึ่ง หอพระสมุดแห่งนี้ถือว่าเป็นรากฐานแห่งหอสมุดแห่งชาติในปัจจุบัน
หอสมุดในประเทศไทยได้รับการพัฒนาและขยายการให้บริการแก่ผู้ใช้อย่างทั่วถึงโดยได้นำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยงานห้องสมุดเป็นครั้งแรกที่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย Asian Institution of Technology (AIT) เมื่อ พ.ศ. 2519

วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 3

ห้องสมุดลดโลกร้อน
3G e-Book นวัตกรรมห้องสมุดลดโลกร้อน




3G E-Book คือนวัตกรรมใหม่ที่เหมือนการรวมเอาห้องสมุดเข้ามาอยู่ในอุปกรณ์เพียงชิ้นเดียว ตัวอุปกรณ์มีเพียงเครื่องพร้อมหน้าจอที่ภายในใส่ชิพเซ็ต 3G ฝังอยู่ การทำงานของมันเพียงแค่ผู้ใช้เข้าไปในเว็บไซต์ที่ขายหนังสือเช่น www.amazon.com หรือ www.barnesandnoble.com/ (Barns and Noble) แล้วสั่งซื้อหนังสือ หนังสือที่ต้องการจะถูกดาวน์โหลดลงมาอยู่ภายในตัวอุปกรณ์ทันที ผู้ใช้สามารถอ่านหนังสือได้ตลอดเวลาที่ต้องการ และสามารถจุหนังสือได้ในปริมาณหลายร้อยเล่ม โดยไม่จำเป็นต้องตัดต้นไม้มาทำกระดาษเป็นการช่วยฺลดภาวะโลกร้อน ปัจจุบันมีกระทรวงศึกษาธิการในหลายประเทศ วางโครงการที่จะใช้ e-Book เป็นอุปกรณ์เสริมในการศึกษาให้กับเยาวชนในประเทศ สำหรับประเทศไทยที่ไม่มีระบบ 3G ก็ประยุกต์ใช้งานด้วยการต่อสายเคเบิลเข้าสู่อุปกรณ์ แล้วจึงเชื่อมต่อลงคอมพิวเตอร์ แต่ถ้ามีระบบ 3G เกิดขึ้น ผู้ใช้ก็สามารถลดขั้นตอนที่ยุ่งยากลงได้และลดการลงทุนซ้ำซ้อน อีกทั้งตัวอุปกรณ์นี้ยังสามารถเชื่อมต่อเข้าสู่วิกิพีเดีย เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมทำบรรณานุกรมและหนังสืออ้างอิงได้ ปัจจุบันมีผู้พัฒนาอุปกรณ์ E-Book มากกว่า 10 ราย มีทั้งแบบที่ใช้เทคโนโลยี CDMA 2000 และ HSPA
http://www.telecomjournal.net/index.php?option=com_content&task=view&id=2651&Itemid=40

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

หัวข้อโปรเจ็ค

เครื่องป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน



จุดประสงค์ในการค้นคว้า เพื่อจะได้รู้เรื่องเครื่องป้องกันไฟฟ้าตก-เกิน ปัจจุบันประเทศไทยมีแรงดันไฟฟ้าที่ไม่คงที่ ถ้าแรงดันไฟฟ้าที่ไม่คงที่ก็จะทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ เกินการเสียหายได้ง่าย จุดประสงค์ของการประดิษฐ์เครื่องนี้ขึ้นมา คือเพื่อตรวจจับ fault ในระบบไฟฟ้า และส่งสัญญาณให้ Breaker เปิดวงจรเพื่อแยกระบบไฟฟ้าที่เกิด fault ออกไป ดังนั้น ระบบป้องกันต้องมีความสามารถจำแนกได้ว่าส่วนใดของระบบเกิดผิดปกติและแยกเฉพาะส่วนนั้นออกจากส่วนอื่นของระบบที่ยังปกติอยู่ วิธีการที่จะจำแนกส่วนที่ผิดปกติ จะเป็นการปรับตั้งระบบอุปกรณ์ตรวจจับ fault โดยการปรับตั้งให้อุปกรณ์ทำการแยกแยะตำแหน่ง fault โดยตรวจสอบกระแส ตรวจสอบเวลา หรือทั้งสองอย่างในเวลาเดียวกัน

ข่าวประจำสัปดาห์ที่2

ห้องสมุด
บทบาทของห้องสมุด
ห้องสมุด มีบทบาทต่อบุคคลต่างๆ มากมาย ซึ่งห้องสมุด สามารถทำประโยชน์ต่อสังคมในด้านต่างๆ
ด้านการศึกษา ห้องสมุดเป็นแหล่งความรู้ที่ นักเรียน นักศึกษา สามารถค้นหาความรู้ด้วยตนเอง โดยห้องสมุดมีบทบาท ในการเสริมความรู้ และสนันสนุนการศึกษาในระบบ และให้โอกาสในการเข้าถึงการศึกษา ได้ใช้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาอาชีพให้ทันกับวิทยาการ และเทคโนโลยี ให้แก่ผู้ที่ไม่มีโอกาสเข้าศึกษาในโรงเรียน หรือผู้ที่ได้สำเร็จการศึกษาแล้ว
ด้านวัฒนธรรม ห้องสมุดเป็นที่บำรุงรักษาวัฒนธรรมของชาติ ให้สืบทอดไปยังอนุชนรุ่นต่อไป เนื่องจากห้องสมุด เป็นแหล่งที่จัดเก็บข้อมูลทางด้านสารนิเทศ ซึ่งส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมต่างๆ และสามารถใช้บ่งบอกความเจริญก้าวหน้าของประเทศนั้นๆ อีกด้วย
[แก้] วัตถุประสงค์ของห้องสมุด
วัตถุประสงค์หลักทั่วไปของห้องสมุดมีอยู่ด้วยกัน 5 ประการ ดังนี้
เพื่อการศึกษา - การใช้ห้องสมุด เป็นหัวใจของการศึกษา เพราะห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ สามารถให้ผู้คน รู้จักศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดความรู้เพิ่มเติมจากที่ร่ำเรียน ไม่ว่าจะเป็น นักเรียนอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา รวมไปถึงผู้ที่จบการศึกษาแล้ว ประชาชนทั่วไป สามารถใช้ห้องสมุดศึกษาหาความรู้ได้ตลอดชีวิต
เพื่อให้ความรู้และข่าวสาร - ทุกวันนี้วิทยาการต่างๆ ก้าวไปอย่างรวดเร็ว ห้องสมุดเป็นสถานที่สำหรับศึกษาวิทยาการต่างๆ และติดตามข่าวความเคลื่อนไหวทั้งภายในและภายนอกประเทศทั่วโลก ทัให้คนรู้จักข่าวคราว ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ช่วยพัฒนาประเทศต่อไป
เพื่อใช้ในการค้นคว้า - ในห้องสมุด มีสารนิเทศมากมาย เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ เหมาะสำหรับเป็นเครื่องมือในการวิจัย ผู้ที่จะทำการวิจัย จำเป็นต้องใช้ข้อมูลเบื้องต้นจากเรื่องที่มีอยู่แล้ว
เพื่อจรรโลงใจมนุษย์ - การอ่านหนังสือ นอกเสียจากการได้ความรู้แล้ว ยังทำให้ผู้อ่านมีความสุขได้อีกด้วย เนื่องจากความซาบซึ้งในความคิดที่ดีงาม ให้ความจรรโลงใจในสิ่งที่ดีแก่ผู้อ่าน ก่อให้เกิดแรงบรรดาลใจ ให้ทำประโยชน์ต่อสังคม เช่น การอ่านหนังสือธรรมะ ทำให้ซาบซึ้งถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หนังสือวรรณกรรม วรรณคดี ทำให้เกิดจินตนาการ
เพื่อนันทนาการ - นอกจากการอ่านหนังสือวิชาการแล้ว ห้องสมุดยังเป็นสถานที่ในการพักผ่อนหย่อนใจ เพราะห้องสมุด ยังมีหนังสือประเภทต่างๆ เพื่อให้ความบันเทิงเบาสมอง เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น นิตยสาร เป็นต้น ทำให้ผู้ใช้ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และปลูกสำนึกรักการอ่าน รู้จักอ่านหนังสืออย่างมีวิจารณญาณ

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1

16 ห้องสมุด






ห้องสมุด คือแหล่งสารนิเทศ บริการทรัพยากรสารนิเทศในรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร กฤตภาค วัสดุเทปและโทรทัศน์ CD-ROM DVD VCD รวมถึงไมโครฟิล์มด้วย โดยมีบรรณารักษ์ เป็นผู้ดำเนินงาน และบริหารงานต่างๆ ในห้องสมุด โดยจัดระบบเป็นหมวดหมู่ และระเบียบเรียบร้อย เพื่อให้ผู้ใช้ห้องสมุด มีความสะดวกสืบค้นได้ง่าย ตรงกับความต้องการ



ห้องสมุดในปัจจุบัน ทำหน้าที่เก็บรวบรวม จัดระบบ เพื่อให้บริการสื่อสารนิเทศต่างๆ ตลอดจนถึงเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีทางการสื่อสาร อีกทั้งยังมีเครื่องมือในการค้นหาและดำเนินการให้บริการสื่อต่างๆ เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้ห้องสมุด


ห้องสมุด ยังมีคำเรียกต่างๆ อีกมากมาย อาทิ ศูนย์ข้อมูล, ศูนย์วัสดุ, ศูนย์วัสดุการศึกษา, สถาบันวิทยบริการ, ศูนย์เอกสาร และ ศูนย์สารนิเทศ เป็นต้น (อ่านต่อ...)
www.eduzone.com/line/library.html